

อ.ผึ้ง – ลลิตลักษณ์ ธารีเกษ
Specialty
– ด้านความปลอดภัยทางการบิน
ประสบการณ์ทำงานก่อนมาเป็นอาจารย์
– พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบิน Japan Airlines
– ผู้ตรวจสอบคุณภาพ สายการบิน Bangkok Airways
วิชาที่สอน
ความปลอดภัยทางการบิน – หลักการจัดการระบบความปลอดภัยทางการบิน สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ทางการบิน การวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ทางการบิน นโยบายด้านความปลอดภัย การระบุสิ่งที่เป็นอันตรายและการจัดการความเสี่ยง การประกันความปลอดภัย การส่งเสริมความปลอดภัย รวมถึงวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร
ไฮไลท์ของสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน
ความปลอดภัยคือสิ่งสำคัญที่สุดในธุรกิจสายการบิน เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นเพียงครั้งเดียว ย่อมเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน มีการเรียนและฝึกฝนนักศึกษาอย่างเข้มข้น ให้มี Safety Mindset เข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยความปลอดภัย

อ.กอล์ฟ – ดร.อรทัย เกียรติวิรุฬห์พล
Specialty
– ด้านการจัดการธุรกิจการบิน
– งานบริการบนเครื่องบิน
– การพัฒนาบุคลิกภาพ
– จิตวิทยาในการให้บริการ
ประสบการณ์ทำงานก่อนมาเป็นอาจารย์
– พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบิน Japan Airlines
– Safety Instructor สายการบิน Japan Airlines
วิชาที่สอน
– ภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับธุรกิจการบิน – ปูพื้นฐานคำศัพท์สำหรับธุรกิจการบิน ธุรกิจสายการบิน งานบริการภาคพื้น การสำรองที่นั่ง งานบริการบนเครื่อง การขนส่งสินค้าทางอากาศ เป็นต้น
– การจัดการธุรกิจการบิน – แนวการบริหารจัดการธุรกิจการบิน เสรีภาพทางอากาศ องค์ประกอบของการปฎิบัติการที่เกี่ยวข้องในธุรกิจการบิน หลักการจัดตารางการบินและการเลือกใช้อากาศยานให้เหมาะสมกับเส้นทาง ความช่วยเหลือต่างๆ สำหรับผู้โดยสาร การให้บริการบนเที่ยวบินและภาคพื้นดิน
– จิตวิทยาบริการและการจัดการข้ามวัฒนธรรมในธุรกิจการบิน
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาบริการ บุคลิกลักษณะและพฤติกรรมผู้โดยสาร ทัศนคติและความพึงพอใจ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การจัดการผู้โดยสารและแนวทางการให้บริการผู้โดยสารที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ไฮไลท์ของสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน
การได้ฝึกปฏิบัติงานจริงตลอด 4 ชั้นปี ทำให้นักศึกษาค้นพบตัวเองว่ามีความสนใจและอยากประกอบอาชีพอะไรในอนาคต พร้อมทีมคณาจารย์มืออาชีพที่มีประสบการณ์ตรงที่จะ Coaching ให้นักศึกษา Ready to Work ในอุตสาหกรรมการบิน

อ.นก – ผศ.โชติกา พันธ์ผูกบุญ
Specialty
– ด้านลูกเรือ
– อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
– การพัฒนาบุคลิกภาพ
– การเตรียมพร้อมสัมภาษณ์งาน
ประสบการณ์ทำงานก่อนมาเป็นอาจารย์
– ผู้จัดการแผนกพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
– ผู้ฝึกอบรมพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
– ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดบริษัทฝึกอบรม
– หัวหน้าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินประจำเที่ยวบิน
– พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
– เจ้าหน้าที่การตลาดฝ่ายดูแลลูกค้าพิเศษ/ เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาเรื่องกองทุน
วิชาที่สอน
– การจัดการงานการบริการบนเครื่องบิน – ความรู้เกี่ยวกับอาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
– ภาษาอังกฤษในการบริการบนเครื่องบิน – คำศัพท์ บทสนทนา การบริการ ที่ใช้ในอาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
– การพัฒนาบุคลิกภาพในงานการบิน – การพัฒนาบุคลิกภาพ มารยาทสังคม มารยาทบนโต็ะอาหาร การเตรียมความพร้อมเรื่องบุคลิก บทสัมภาษณ์ในการสัมภาษณ์งานทางการบิน
– ความปลอดภัยทางการบิน – การลดความผิดพลาดจากมนุษยปัจจัย โดยเรียนรู้จากทฤษฎีและกรณีศึกษา
– การจัดการอาหารและเครื่องดื่ม – การจัดเตรียมอาหารเครื่องดื่ม ประเภทอาหารเครื่องดื่มที่ใช้บริการบนเครื่องบิน
– นวัตกรรมในธุรกิจการบิน
ไฮไลท์ของสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน
ความรู้จากประสบการณ์จริงของผู้สอนผ่านกิจกรรมในรายวิชาที่น่าสนใจ เช่น Final Project, Table Manner และ Mockup Interview อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน คำศัพท์ บทสนทนา การบริการ การพัฒนาบุคลิกภาพ มารยาททางสังคม มารยาทบนโต็ะอาหาร การเตรียมความพร้อมเรื่องบุคลิก การสัมภาษณ์งานทางการบิน ความปลอดภัยทางการบิน โดยเรียนรู้จากทฤษฎีและกรณีศึกษา

อ.แอม – ผศ.อิชยาพร ช่วยชู
Specialty
– ด้านพนักงานต้อนรับภาคพื้น
– งานบริการผู้โดยสารภาคพื้น
– ภาษาอังกฤษสำหรับงานบริการผู้โดยสารภาคพื้น
ประสบการณ์ทำงานก่อนมาเป็นอาจารย์
พนักงานต้อนรับภาคพื้น สายการบิน Bangkok Airways
วิชาที่สอน
– งานบริการผู้โดยสารภาคพื้น
– กระบวนการของงานบริการผู้โดยสารภาคพื้น การตรวจรับบัตรโดยสาร เอกสารในการเดินทาง การตรวจรับสัมภาระ และการคัดกรองวัตถุอันตราย กระบวนการส่งผู้โดยสารขึ้นเครื่อง งานบริการผู้โดยสารขาเข้า การส่งผู้โดยสารเปลี่ยนลำ การจัดการสัมภาระขาเข้า แนวทางการจัดการเมื่อเกิดเที่ยวบินไม่ปกติ
– ภาษาอังกฤษสำหรับงานบริการผู้โดยสารภาคพื้น
– การสื่อสารที่ใช้ในงานปฏิบัติการภาคพื้น ระหว่างพนักงานบริการผู้โดยสารภาคพื้นและผู้โดยสาร การจำลองสถานการณ์ การฝึกปฏิบัติการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ ภาคพื้น การเจรจาต่อรองเมื่อเกิดเที่ยวบินไม่ปกติ
– การจัดการงานปฏิบัติการภาคพื้น
– องค์ประกอบของการปฏิบัติการภาคพื้น ทั้งงานบริการผู้โดยสารและการบริการแก่อากาศยาน ณ ลานจอด ตามกระบวนการในการเตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทาง
ไฮไลท์ของสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน
การได้ฝึกปฏิบัติงานจริงในธุรกิจสายการบิน และโอกาสการได้บรรจุเป็นพนักงานในระหว่างการฝึกงาน

อ.นิค – Nick Alfred Trinidad Umadhay
Specialty
– ด้านอาหารและเครื่องดื่ม
– การจัดเลี้ยงบนเครื่องบินและการจัดการครัว
– อาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องบิน
– ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในอุตสาหกรรมการบิน การบริการ และการท่องเที่ยว
ประสบการณ์ทำงานก่อนมาเป็นอาจารย์
ด้านการสอน
– หัวหน้าสาขาการจัดการการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
– หัวหน้าโครงการสาขาการท่องเที่ยว St.Paul University Iloilo ประเทศฟิลิปปินส์
– หัวหน้าโครงการสาขาการจัดการโรงแรมและภัตตาคาร University of Iloilo ประเทศฟิลิปปินส์
ด้านอื่นๆ
– เชฟที่ปรึกษาบริการจัดเลี้ยงและอีเวนต์ Ma’am Nor’s
– เชฟสาธิตผลิตภัณฑ์ของบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ วิสายาส ประเทศฟิลิปปินส์
– เชฟและพิธีกรรายการโทรทัศน์ช่วง Namit รายการ Sikat Ka Iloilo รายการช่วงเช้าของสถานีโทรทัศน์ ABS -CBN ประเทศฟิลิปปินส์
– เชฟที่ปรึกษาของร้าน PALENGKE ประเทศไทย
วิชาที่สอน
Air Catering Management
– เน้นการผลิตอาหาร โลจิสติกส์ กฎระเบียบด้านความปลอดภัย การบริการลูกค้า การควบคุมต้นทุน และแนวโน้มของอุตสาหกรรม สำหรับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพในสายงานจัดเลี้ยงของสายการบิน
In-flight Meals and Beverages
– เน้นการเตรียมอาหาร การบรรจุ การให้บริการ การวางแผนเมนู ความปลอดภัยของอาหาร ความต้องการอาหารเฉพาะทาง การจัดการเครื่องดื่ม และการจัดการโลจิสติกส์สำหรับผู้โดยสารบนเครื่องบิน
Communicative English for Aviation
– พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในสายงานการบิน ครอบคลุมคำศัพท์เฉพาะ การบริการลูกค้า และการปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม
Basic English for Hospitality Industry and Tourism
– พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการสื่อสารกับแขก การจองห้องพัก การให้บริการลูกค้า และสถานการณ์ที่พบบ่อย
Food Preparation and Kitchen Management
– ทักษะด้านการเตรียมอาหาร การดำเนินงานในครัว ความปลอดภัยของอาหาร การควบคุมสินค้าคงคลัง และการจัดการพนักงานในครัวและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
ไฮไลท์ของสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน
การผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างการเรียนการสอนด้านวิชาการและประสบการณ์ภาคปฏิบัติ พร้อมกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น ห้องปฏิบัติการทำอาหารแบบลงมือทำจริง การพัฒนาเมนูและเทคนิคการจัดจานอาหาร และ Final Project ด้านการจัดเลี้ยงบนเครื่องบิน ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง