คณะวิทยาการจัดการ (MS)

- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน
- สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว
- สาขาวิชาการจัดการอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอาคาร
- สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการองค์การ

สาขาวิชา คณะวิทยาการจัดการ


เปิดโลกใบใหม่กับสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน ที่พีไอเอ็ม ฝึกปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมบริการและการบิน Ready to Work ตรงสายงาน พร้อมประสบการณ์ที่มากกว่า
นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน คณะวิทยาการจัดการ จะได้ฝึกปฏิบัติงานบริการภาคพื้นที่ท่าอากาศยานและบริษัทสายการบิน โดยเน้นประสบการณ์ทำงานที่ตรงกับสาขาวิชาชีพในอนาคต และจะได้ฝึกฝนทักษะดังนี้
1. ทักษะการบริหารจัดการธุรกิจการบิน
ฝึกงานในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน เรียนรู้รูปแบบการจัดการธุรกิจการบิน ทั้งการดำเนินงานท่าอากาศยานภายในประเทศและระหว่างประเทศ การควบคุมจราจรทางอากาศ การจัดการบริการด้านการบิน การบริการผู้โดยสารและสินค้า รวมถึงกฎหมายและระเบียบการบินพลเรือน
2. ทักษะการให้บริการ
เรียนรู้ทักษะในงานบริการภาคพื้นดินและการจัดการงานท่าอากาศยาน เช่น งานประชาสัมพันธ์ในสนามบิน การแก้ปัญหาการสำรองที่นั่ง การบริการเช็คอินและการขึ้นเครื่องบิน การต้อนรับผู้โดยสารขาเข้าและขาออก ฯลฯ
ส่วนทักษะงานบริการบนเครื่องบินนั้น ได้แก่ วิธีการต้อนรับผู้โดยสารและการใช้อุปกรณ์ต่างๆ บนเครื่องบิน การให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม การดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสาร และการประกาศข่าวสารคำแนะนำต่างๆ บนเครื่องบิน เป็นต้น
3. ทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ
ฝึกฝนทักษะด้านการพูด ฟัง อ่าน เขียน รวมถึงศัพท์เฉพาะทางในกิจการสนามบิน การจราจรทางอากาศ จนสามารถนำไปใช้ในวิชาชีพได้อย่างถูกต้อง รวมถึงฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการเตรียมตัวสอบ TOEIC ที่มีความจำเป็นในการประกอบวิชาชีพธุรกิจการบิน
4. ทักษะการจัดการคลังสินค้าทางอากาศ
เรียนรู้รูปแบบและขั้นตอนการทำงานในคลังสินค้าทางอากาศ ทั้งการขนส่ง การกระจายสินค้า และการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โปรแกรมเฉพาะสำหรับจัดการรับส่งสินค้า ฯลฯ
5. ทักษะการประสานงานการขนส่ง
ประสานงานด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศเพื่อให้บริการลูกค้าที่ส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ ฝึกฝนภาษาอังกฤษสำหรับการติดต่อประสานงานสำหรับธุรกิจนำเข้าและส่งออก
6. ทักษะการจัดการเอกสารในธุรกิจการบิน
ฝึกฝนการจัดทำเอกสารในธุรกิจการบิน ทั้งการจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยา และดูแลการส่งข้อมูลที่จำเป็นของเที่ยวบินให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเรียนรู้ระบบบัญชี การเงิน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และระบบงานต่างๆ ในธุรกิจการบิน
7. ทักษะการขายและการตลาด
เรียนรู้ระบบการตลาดและการขายในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบินและการเดินทาง สามารถเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้โดยสารเพื่อนำมาใช้ในวางแผนการตลาด และมีการออกบูธประชาสัมพันธ์เพื่อการส่งเสริมการขายและการบริการทางการบินต่างๆ เช่น การเช่าเหมาลำ การขนส่งสินค้า การทำโปรโมชั่นสำหรับบัตรโดยสารเครื่องบิน และการตลาดแบบ E-marketing
นอกจากทักษะที่สำคัญในวิชาชีพ นักศึกษาจะได้เรียนรู้ทักษะการทำงานพื้นฐาน เช่น ฝึกความรับผิดชอบ ความอดทน การตัดสินใจ และการทำงานร่วมกันเป็นทีม
สายอาชีพ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน

พนักงานบริการภาคพื้น ‘ผู้ช่วยเรื่องการเดินทาง’
พนักงานบริการภาคพื้น หรือพนักงานต้อนรับภาคพื้น อาจมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังก
เจ้าหน้าที่อำนวยการบิน
‘นักบินนั่งโต๊ะ’
เจ้าหน้าที่อำนวยการบิน หรือ Flight Dispatcher เรียกสั้นๆ ว่า Dispatcher เป็นอีกหนึ่งอาชีพในอุตสาหก
เจ้าหน้าที่สำรองที่นั่งและจำหน่ายบัตรโดยสาร ‘Reservation Sales Agent’
ทำหน้าที่ให้บริการรับจองตั๋วโดยสารของสายการบินต่างๆ ตรวจสอบที่ว่าง ค่าโดยสาร ตารางการบิน ข้อมูลทางการบินหรือให้ข้อมูลการเดินทางให้กับลูกค้า
ศิษย์เก่า สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน

วลัยลักษณ์ ทองมา
Ground Attendant
บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด

โรจน์ศักดิ์ แสนเมืองมา
Infight Service Coordinator
บริษัท ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ จำกัด

ศุภนิดา เจริญสุข
Ticketing Agent
บริษัท ลุฟท์ฮันซ่า เซอร์วิสเซส (ไทยแลนด์) จำกัด


เลือกฝึกประสบการณ์กับสาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ ที่พีไอเอ็ม เรียนรู้งานในอุตสาหกรรมบริการแบบครบวงจร ทั้งการโรงแรมและการท่องเที่ยวจบแล้วพร้อมทำงานในไทยและในต่างประเทศ
นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการจริงในกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในเรื่องคุณภาพ มาตรฐาน และการบริการในระดับสากล ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ โดยเน้นการฝึกทักษะการทำงานที่ตรงกับสาขาวิชาชีพ ดังนี้
กลุ่มธุรกิจบริการด้านที่พักและโรงแรม
1. ทักษะการจัดการการบริการ
เรียนรู้ทักษะในการบริหารจัดการธุรกิจโรงแรม และฝึกปฏิบัติงานในแผนกต่างๆ ได้แก่
– แผนกต้อนรับ (Front Office Operations)
– แผนกแม่บ้าน (Housekeeping Operations)
– แผนกประกอบอาหาร (Food Production, Culinary)
– แผนกอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Service)
ฯลฯ
2. ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
ฝึกฝนทักษะการเป็นผู้ประกอบการสำหรับธุรกิจขนาดเล็กด้านที่พัก และธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยศึกษาบทบาท คุณลักษณะของการเป็นเจ้าของธุรกิจ การวางแผนพัฒนาธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท บริษัทนำเที่ยว และธุรกิจบริการอื่นๆ ตลอดจนสามารถวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ การหาสถานที่ตั้ง การออกแบบ การประเมินสภาพแวดล้อม การบำรุงรักษา รวมถึงแนวทางและโอกาสการเป็นเจ้าของธุรกิจในอุตสาหกรรมธุรกิจบริการ
3. ทักษะการบริการลูกค้า
ฝึกฝนทักษะในงานบริการ โดยมีความเข้าใจกระบวนการการให้บริการทั้งในส่วนของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ พร้อมฝึกทักษะในการประสานงานและทำงานร่วมกับแผนกต่างๆ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า
4. ทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ
เรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษด้านการพูด ฟัง อ่าน เขียน รวมถึงศัพท์เฉพาะทางในงานธุรกิจโรงแรม เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ และยังส่งเสริมการฝึกทักษะภาษาที่ 3 เช่น ภาษาจีน หรือญี่ปุ่น เพื่อให้มีความสามารถที่โดดเด่น สามารถแข่งขันในธุรกิจโรงแรมได้
กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์
1. ทักษะการบริหารงานในธุรกิจนำเที่ยว
นักศึกษาจะได้ฝึกทักษะการบริหารงานในธุรกิจนำเที่ยว อันได้แก่ ธุรกิจตัวแทนการท่องเที่ยว (Travel Agency) ธุรกิจดำเนินงานการท่องเที่ยว (Tour Operator) โดยจะได้เรียนรู้งานด้านการบริหารและปฏิบัติการในธุรกิจท่องเที่ยว สามารถวางแผนพัฒนาธุรกิจนำเที่ยวได้ โดยรู้จักรูปแบบและประเภทของธุรกิจท่องเที่ยว เข้าใจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ความแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงมีความเข้าใจในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
2. ทักษะการเป็นมัคคุเทศก์
รู้จักบทบาทหน้าที่ของมัคคุเทศก์ จรรยาบรรณและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความสำคัญที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยสามารถวางแผนการท่องเที่ยว ติดต่อประสานงาน และร่วมมือกับธุรกิจบริการต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ทักษะด้านการตลาดและการบริการ
ฝึกฝนทักษะด้านการตลาดการท่องเที่ยว และการบริการที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ การบริการบนเรือสำราญ การบริการในธุรกิจสายการบินและการขนส่ง และสามารถวิเคราะห์ Big Data เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการตลาดและการส่งเสริมการขาย
กลุ่มธุรกิจบริการด้านอื่นๆ
1. ทักษะการจัดการธุรกิจ MICE
เรียนรู้รูปแบบและความแตกต่างของธุรกิจ MICE แต่ละประเภท รวมถึงแนวโน้มความเจริญเติบโตของแต่ละธุรกิจ สามารถวางแผนการจัดการธุรกิจโดยเลือกกลุ่มตลาดเป้าหมาย และนำเสนอแผนงานสำหรับการจัดการประชุม สัมมนา นิทรรศการ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลได้
2. ทักษะการเป็นตัวแทนในอุตสาหกรรม MICE
เรียนรู้กลุ่มธุรกิจในอุตสาหกรรม MICE เพื่อสร้างเครือข่ายและเป็นตัวแทนการจัดการการจัดประชุม สัมมนา การจัดนิทรรศการ และการจัดนำเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลอย่างครบวงจร
3. ทักษะการประสานงาน
ฝึกทักษะในการวางแผนการทำงานเพื่อการจัดงานขนาดใหญ่ โดยมีวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ตลอดจนสามารถประสานงานกับทีมงานในฝ่ายต่างๆ และลูกค้า เพื่อให้การทำงานบรรลุผลสำเร็จ
4. ทักษะการขายและการต่อรอง
เรียนรู้เทคนิคและขั้นตอนการขายอย่างเป็นระบบ สามารถใช้กลยุทธ์การสื่อสารกับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความเข้าใจความต้องการของลูกค้า และฝึกฝนการเจรจาต่อรอง การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
สายอาชีพ สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว

อาชีพบริการด้านที่พักและโรงแรม ได้แก่
(1) พนักงานโรงแรม หรือพนักงานในธุรกิจที่พักประเภทต่างๆ เช่น ตำแหน่งหัวหน้าส่วนงาน หรือตำแหน่งพนักงานปฏิบัติการในแผนกต้อนรับ (Front Office) แผนกอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Service) แผนกแม่บ้าน (Housekeeping) แผนกการประกอบอาหาร (Food Production) แผนกจัดเลี้ยง (Banquet and Catering) แผนกการขายและการตลาด (Sales and Marketing) เป็นต้น
(2) ผู้ประกอบการในธุรกิจที่พักขนาดเล็ก เช่น ผู้ประกอบการโฮมสเตย์ (Home Stay) ผู้ประกอบการเกสต์เฮาส์ (Guest House) ผู้ประกอบการรีสอร์ท (Resort) เป็นต้น
อาชีพบริการด้านการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ ได้แก่
(1) พนักงานบริษัทนำเที่ยว เช่น ตำแหน่งหัวหน้าส่วนงาน หรือตำแหน่งพนักงานปฏิบัติการในแผนก นำเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tour) นำเที่ยวระหว่างประเทศขาเข้า (Inbound Tour) นำเที่ยวระหว่างประเทศขาออก (Outbound Tour) มัคคุเทศก์ (Tour Guide) ผู้นำเที่ยว (Tour Leader) แผนกการขายและการตลาด (Sales and Marketing) เป็นต้น
(2) ผู้ประกอบการในธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เช่น ผู้ประกอบการตัวแทนการท่องเที่ยว (Travel Agency) ผู้ประกอบการจัดนำเที่ยว/บริษัททัวร์ (Tour Operator) เป็นต้น
(3) บริการด้านการท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น ตำแหน่งหัวหน้าส่วนงาน หรือตำแหน่งพนักงานปฏิบัติการในธุรกิจบริการตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์ (Online Travel Agency: OTA) บล็อกเกอร์ท่องเที่ยว (Travel Blogger) เป็นต้น
อาชีพบริการด้านอื่นๆ เช่น
(1) พนักงานในตำแหน่งปฏิบัติการหรือหัวหน้าส่วนงาน และ/หรือผู้ประกอบการในธุรกิจการจัดการประชุม สัมมนา นิทรรศการและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล หรือ ธุรกิจไมซ์ (MICE)
(2) พนักงานในตำแหน่งปฏิบัติการหรือหัวหน้าส่วนงาน และ/หรือผู้ประกอบการในธุรกิจบริหารจัดการจุดหมายปลายทาง (Destination Management services Company: DMC)
(3) พนักงานในตำแหน่งปฏิบัติการหรือหัวหน้าส่วนงาน และ/หรือผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารและบันเทิง เช่น ภัตตาคาร ร้านอาหาร บาร์ ร้านเบเกอรี่ งานจัดเลี้ยง เป็นต้น
(4) พนักงานในตำแหน่งปฏิบัติการหรือหัวหน้าส่วนงาน และ/หรือผู้ประกอบการในธุรกิจบริการเชิงสุขภาพ กีฬา สันทนาการ สปา และความงาม
(5) พนักงานในตำแหน่งปฏิบัติการในธุรกิจเรือสำราญ
(6) พนักงานในตำแหน่งปฏิบัติการในธุรกิจการบินและขนส่ง
(7) พนักงานในตำแหน่งปฏิบัติการในหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานด้านการศึกษา การวิจัย ศูนย์บริการข้อมูล และวิชาการ
ศิษย์เก่า สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว

รัตนาภรณ์ เจียมจิตร์กุล
Accoumting Coordinator
โรงแรม Waldorf Astoria Bangkok

สุชาดา ปักโคทะกัง
Club Lancaster Officer
โรงแรม Lancaster Bangkok

วิศิษฎ์ ทรัพย์พรรณราย
Bartender
โรงแรม Pullman Bangkok Hotel G


1. ทักษะการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์
เรียนรู้การจัดการอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร ตั้งแต่เรื่องที่ดินเปล่า ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การบริหารจัดการโครงการก่อสร้าง ไปจนถึงการตลาด การขายหรือให้เช่าเพื่อทำกำไร ฝึกทักษะในการคิดพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ทรัพย์สิน ด้วยการรีโนเวต ปรับปรุงสภาพแวดล้อม หรือปรับปรุงการให้บริการ
2. ทักษะการบริหารจัดการอาคาร
ฝึกฝนทักษะในการบริหารจัดการอาคารประเภทต่างๆ ปรับปรุงเพื่อยกระดับคุณภาพงานบริการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการพลังงาน การดูแลความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกในการใช้งานอาคาร และรวมไปถึงการจัดการงบประมาณเพื่อให้เกิดการใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพและสร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าให้กับอาคาร
3. ทักษะการบริหารจัดการระบบวิศวกรรม
เรียนรู้หลักการทำงานและฝึกฝนทักษะในการบริหารจัดการระบบวิศวกรรม เช่น ระบบประปา-สุขาภิบาล ไฟฟ้า ที่สัมพันธ์กับการใช้งานจริงของผู้ใช้อาคาร รวมถึงระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ปรับอากาศ ลิฟต์ และระบบอื่นๆ ที่แตกต่างออกไปสำหรับอสังหาริมทรัพย์แต่ละประเภท
4. ทักษะการบริการผู้ใช้งานอาคาร
ในการฝึกงานด้านการจัดการอสังหาริมทรัพย์ นอกจากการดูแลความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งานอาคารแล้ว ยังมีการฝึกทักษะการให้บริการด้านอื่นๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ การนำเสนอข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้งานอาคาร ฯลฯ
นอกจากทักษะที่สำคัญเหล่านี้ นักศึกษาจะได้ฝึกทักษะการทำงานพื้นฐาน เช่น ฝึกความรับผิดชอบ ฝึกการสื่อสาร การเจรจาต่อรอง การตัดสินใจ การทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินสถานการณ์ คิดวิเคราะห์ เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา การนำเสนองานด้วย Presentation และ Infographic แบบมืออาชีพ รวมถึงทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน
สายอาชีพ สาขาวิชาการจัดการอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอาคาร

Building Manager ‘บริหารอาคารแบบมืออาชีพ’
Building Manager หรือผู้จัดการอาคาร มีหน้าที่ควบคุม ดูแลงานบริหารอาคารและที่พั
Sale/ Marketing ‘นักการตลาดอสังหาริมทรัพย์’
Sale/ Marketing ‘นักการตลาดอสังหาริมทรัพย์’ เป็นอาชีพส่วนสำคัญของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีหน้าที่ คิดโปรโมชั่น และติดต่อประสานงานกับลูกค้า หรือผู้ที่สนใจโครงการเพื่อการขายและการเช่าซื้อ ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความความรู้ในเชิงการตลาด และข้อมูลอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างอาคารเพื่อบริการลูกค้าได้อย่างถูกต้องและปิดการขาย
ศิษย์เก่า สาขาวิชาการจัดการอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอาคาร

นฤมาศ มัครชัย
Officer – Property Management
บริษัท โกลเด้นแลนด์ พร๊อพเพอร์ตี้
ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด

เมธาสิทธิ์ วัฒนพฤกษ์
Administration Officer
บริษัท เฟรเกรนท์ พร๊อพเพอร์ตี้
แมเนจเม้นท์ จำกัด

อัครณี โพธิ์ดี
เจ้าหน้าที่ธุรการการเงิน/ผู้ช่วยผู้ดูแลอาคาร
บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์
แมนเนจเม้นท์ จำกัด


สายอาชีพ สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการองค์การ

Head Hunter ‘นักล่าหาคนที่ใช่’
Head Hunter เป็นอาชีพเกี่ยวกับการจัดหา
รายได้ของ Head Hunter มาจากการขายบริการและค่าดำเ
HRD Officer & Training Officer ‘นักส่งเสริมเพิ่มศักยภาพบุ
HRD Officer หรือ Human Resource Development Officer คือเจ้าหน้าที่พัฒนาทรัพยาก
ส่วน Training Officer หรือเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม คือผู้ทำหน้าที่ในการฝึกอบร
อาชีพอื่นๆ ที่น่าสนใจ
▪ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์
▪ วิทยากรด้านการพัฒนาบุคลากร
▪ Head Hunter
ตารางความเชื่อมโยงผลลัพท์การเรียนรู้ของหลักสูตรกับวิศัยทัศน์ พันธกิจและอัตลักษณ์ของสถาบัน

ศิษย์เก่า สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการองค์การ

ศักดา บุญลา
เจ้าหน้าที่สรรหาพนักงาน
(Management Level & IT)
บริษัท Manpower Group

เมธาสิทธิ์ วัฒนพฤกษ์
เจ้าหน้าที่งานประชาสัมพันธ์และกิจกรรมพิเศษ
โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ทิพญา สุภาพละ
เจ้าหน้าที่ระบบข้อมูลบุคคล
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)